เตรียมพิจารณา เพิ่มเงิน เราชนะ ม.33 เรารักกัน
เตรียมพิจารณา เพิ่มเงิน เราชนะ ม.33 เรารักกัน
ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้สั่งการให้เร่งออกมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจให้กับผู้ได้รับผลกระทบจาก
มาตรการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันการcv-19 ระลอก 4 โดยสั่งการให้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน กระทรวงการคลัง
กระทรวงแรงงาน และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบให้ครอบคลุมทุกกลุ่มและรวดเร็วที่สุด นายดนุชา กล่าวว่า ได้เตรียม
มาตรการเยียวยาประชาชนเพิ่มเติม เพื่อรองรับการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 พื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้ม โดยงบประมาณที่จะนำมาใช้
ในการเยียวยารอบนี้ จะมาจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพราะงบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่เพียงพอต่อการเยียวยาประชาชนอยู่แล้ว
ทั้งนี้ การใช้งบประมาณ อนุมัติโครงการต่าง ๆ ยืนยันว่าดำเนินการออกมาตรการจะสามารถทำได้เร็ว เพื่อเยียวยาช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที กรณีประกัน
สังคมก็สามารถจ่ายเยียวยาได้เลย ยกเว้นโครงการที่ต้องใช้เงินกู้ ต้องผ่านคณะกรรมการ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป เลขาธิการสภาพัฒน์กล่าวว่า กำลังเร่งทำมาตรการเยียวยาประชาชน
ส่วนรูปแบบจะเป็นอย่างไรนั้น จะต้องรอมติจาก ครม.อนุมัติ โดยสภาพัฒน์จะเร่ง
เสนอ ครม.ในสัปดาห์ถัดไป ทั้งนี้ สภาพัฒน์ต้องเตรียมการเยียวยาเผื่อกรณีที่
การล็อกดาวน์ยืดเยื้อ และผลกระทบยาว ก็จะทำให้สอดคล้องกัน จากเอกสารรายงานการประชุม เรื่องมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการ
แพร่cv-19 ระลอก 4 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 ได้
พิจารณาเห็นชอบการใช้จ่ายเงินกู้ ที่มี นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ เป็นประธานไปแล้ว ได้แก่
โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (กทม. และปริมณฑล)
นายจ้างรายละ 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้าง ไม่เกิน 200 คน จำนวน 41,940 ราย ลูกจ้างคนละ 2,000 บาท จำนวน 663,916 รายวงเงิน 2,519 ล้านบาท นอกจากนี้ที่ประชุม ครม.ยังได้รับทราบกรอบวงเงินกู้คงเหลือ ภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจ
กระทรวงการคลังกู้เงิน 1 ล้านล้านบาท คงเหลือ 7,197.1745 ล้านบาท แบ่งออกเป็น
แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ปัญหาการแพร่ cv-19 ไม่มีกรอบวงเงินคงเหลือ
แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 2
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ กรอบวงเงินคงเหลือ 2,710.1767 ล้านบาท
แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 3
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการcv-19 กรอบวงเงินคงเหลือ 4,486.9978 ล้านบาท