เงินเข้ารอบใหม่แล้ว เตรียมตัวไปกดใช้ได้เลย
เงินเข้ารอบใหม่แล้ว เตรียมตัวไปกดใช้ได้เลย
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดำเนินมาตรการประกันรายได้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและยางพาราวงเงินรวม
ทั้งสิ้น 61,900.82 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้
ปลูกข้าว วงเงินรวม 51,858 ล้านบาท และโครงการประกันรายได้ชาวสวนยาง วงเงิน10,042 บาท
ความคืบหน้าในเรื่องนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตอบกระทู้ถามสดด้วยวาจา ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับราคาข้าวตกต่ำ ว่า ภายในสัปดาห์นี้กระทรวงพาณิชย์จะเชิญธนาคารพาณิชย์และแบงก์ชาติ มาเจรจราในการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ
ในการปล่อยสินเชื่อให้กับโรงสีเพื่อเร่งรับซื้อข้าวจากเกษตรกร และ คณะอนุกรรมการได้สรุปเงินส่วนต่าง สำหรับเกษตรกรเรียบร้อยแล้ว
รายละเอียดการจ่ายเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในส่วนต่าง
ของเกษตรกรที่ปลูกข้าว และ ยางพารา ได้รับเงินส่วนต่างเท่าไหร่และวันไหนเช็กรายละเอียดจากบรรทัดถัดจากนี้
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64
ระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – พฤษภาคม 2563
การประกันรายได้ข้าว 5 ชนิด ความชื้นจะต้องไม่เกินร้อยละ 15 ได้แก่
ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 14 ตันได้ส่วนต่างตันละ 2,911 บาท
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 16 ตัน ส่วนต่างตันละ 2,137 บาท
ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ตัน ส่วนต่างตันละ 1,222 บาท
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ตัน ส่วนต่างตันละ 1,066 บาท
ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 16 ตัน ส่วนต่างตันละ 2,084 บาท
เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย
เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 (รอบที่ 1) กับ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 ตุลาคม 2563 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564
โดยเกษตรกรสามารถเข้าร่วมโครงการประกันฯ ได้แปลงละ 1 ครั้ง เท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นการจ่ายเงินซ้ำซ้อน
การจ่ายเงินงวดแรกวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 จะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิดรับเงินส่วนต่างสูงสุด
ส่วนต่างราคาข้าวที่เกษตรกรได้รับการชดเชย
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี จะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 26,674 บาทต่อครัวเรือน
ข้าวเหนียวจะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บาทต่อครัวเรือน
ข้าวเปลือกเจ้า ได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บาทต่อครัวเรือน
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 34,199 บาทต่อครัวเรือน
ข้าวหอมมะลิจะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 40,756 บาทต่อครัวเรือน
โครงการประกันรายได้ชาวสวนยางพารา
ต้องเป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท. ) ทั้งบัตรสีเขียว และบัตรสีชมพู ซึ่งแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยาง ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จำนวน 1,834,087 ราย
พื้นที่สวนยางกรีดได้ 18,286,186.03 ไร่ กำหนดระยะเวลาประกันรายได้ 6 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563–มีนาคม 2564
ราคายางที่ประกันรายได้ กำหนดให้ยางแผ่นดิบคุณภาพดี อยู่ที่ 60.00 บาท/กิโลกรัม
น้ำยางสด (DRC 100%) 57.00 บาท/กิโลกรัม
ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23.00 บาท/กิโลกรัม
ส่วนปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้
ผลผลิตยางแห้ง 20 กก./ไร่/เดือน
ยางก้อนถ้วย 40 กก./ไร่/เดือน รายละไม่เกิน 25 ไร่ โดยแบ่งสัดส่วนรายได้แก่เจ้าของสวน 60% และคนกรีด 40%
การจ่ายเงินส่วนต่างนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)