นิสัย 8 ข้อนี้ ควรเลิกได้แล้ว ถ้าไม่อย ากให้ชีวิตตัวเองลำบาก

นิสัย 8 ข้อนี้ ควรเลิกได้แล้ว ถ้าไม่อย ากให้ชีวิตตัวเองลำบาก

1.ไม่สนใจ“อนาคต”

เมื่อเจอกับปัญหา หลายคนเลือก ที่จะเดินหนีหันหลัง ให้หรือบ่ายเบี่ยงไป

ทำอย่างอื่นและปัญหา ก็ยังคงกองอยู่ตรงหน้า เหมือนเดิม แถมอาจหนักขึ้นจน

เข้าขั้นวิกฤติได้ ในอนาคต ในเรื่องของการเงิน ก็เช่นกัน หลายคนสนใจ กับความสุข

ในวันนี้กินอิ่ม ปาร์ตี้สนุกเที่ยวบ่อย ใช้ให้เต็มที่ ทั้งที่รู้ว่ายังไม่มีเงินเก็บ

สำหรับอนาคตไม่มี เงินสดสำหรับ ย ามฉุกเฉิน ไม่เคยวางแผนการเงิน

ไม่เคยแม้แต่จะลงมือทำ และปัญหา ก็ยังคงเป็นปัญหา เช่นเค ยคงดีกว่าไม่น้อย

ถ้าการตัดสินใจ ใช้เงินทุกครั้งเรา ได้ฉุกคิดถึง “อนาคต” บ้างบ้าน

ผ่อนหมดยังหนี้บัตรเครดิต จ่ายเต็มวงเงินแล้วใช่มั้ย ?

เงินก้อนที่ตั้งใจเก็บตอนนี้ ได้เท่าไหร่เกษียณที่ว่า

ต้องใช้เงินเยอะ เรามีแค่ไหนแล้ว ? หัดอดเปรี้ยวไว้กินหวานบ้าง

2.ไม่สนใจ“หนี้”

น้อยคนนักที่จะ “ไม่มีหนี้” แต่คนมีหนี้ จำนวนมากกลับ ให้ความสำคัญ กับการ“ ชำระหนี้”

น้อยมากหรือบางคนไม่ให้ ความสำคัญ กับการจัดการหนี้เลย

และนั่น ก็ย่อมทำให้เขาเหล่านั้น ตกอยู่ในวังวนของ “หนี้” อย่างไม่มีทางหลุดพ้นได้

เ พราะเมื่อได้เงินมา ก็มัวแต่สนุกกับการใช้จ่าย กระทั่งดอกเบี้ย (หนี้) ทบต้นไปเรื่อย ๆ

ในทางตรงกันข้ามคน ที่อย ากรวยจะ “กลัวหนี้ ”มากพวกเขา จึงให้ความสำคัญ กับ “หนี้”

เป็นอันดับแรกเมื่อมีรายได้ เข้ามาก็จะรีบชำระหนี้

ก่อนสิ่งอื่นใด จนกระทั่งเป็นไทปลด ระวางหนี้ได้สำเร็จ

3. ไม่เคยตั้ง“งบประมาณ”ในการใช้เงิน

บริษัทก็ยังมีงบการเงินทำโปรเจคยังต้องมีประมาณการณ์ ค่าใช้จ่าย

เรื่องการเงินส่วนบุคคลก็เช่นกันหลายคนไม่เคยตั้ง“งบประมาณ”

การใช้เงินเลยจะช้อปปิ้งปีใหม่จะเที่ยวจะซื้อเสื้อผ้า

ก็จัดเต็มและสุดท้ายก็เกินความจำเป็นเกินกำลังทรัพย์ของตัวเอง

และกลายเป็น“หนี้”ในท้ายที่สุด วิธีการที่ง่ายกว่าก็คือ

“ตั้งงบประมาณ”การใช้เงินทุกครั้ง เช่น จะซื้อของวาเลนไทน์

ให้คนรักไม่เกินกี่บาท,จะไปเที่ยวทริปกลางปี

งบประมาณรวมเท่าไหร่ หลังจากนั้นยึดมั่นกับสิ่งที่ตั้งไว้

ทำตามแผนไม่ใช้เกินงบรับรอง ว่าเราจะตัดสิ่ง ที่ไม่จำเป็นออกไปได้อย่างง่ายดาย

4. ใช้เงินเพิ่มขึ้น

ไม่ผิดหรอกถ้าคิดว่า“อย ากมีชีวิตที่ดีขึ้น”แต่อย่าลืมว่าชีวิตที่ดีขึ้น

ไม่จำเป็นต้องมากับรายจ่ายที่มากขึ้นเพียงอย่างเดียว

ลองใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้นเลิกเป็นนักสะสมแค่นี้ก็ทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นได้

เพรา ะถ้าได้เงินเดือนเพิ่มแล้วใช้จ่ายเพิ่ม(มากกว่าเงินเดือนที่เพิ่ม)

สุดท้ายอาจได้แค่“อย าก”มีชีวิตที่ดีขึ้นเพรา ะพฤติกรรม

มือเติบอาจก่อให้เกิด ปัญหาตามมา โดยเฉพาะหนี้สิน ที่พอกพูนแบบไม่ทันตั้งตัว

5. คิดว่า“เร็วเกินไปที่จะออมเงิน”

ในวันที่เรายังตื่นตาตื่น ใจกับสิ่งรอบ ตัวอันนู้นก็ใช่อันนี้

ก็อย ากได้อันนี้ ก็กำลังมองหา ภาพลวงของ “ความจำเป็น”

ผุดขึ้นมาตรงหน้าและทำให้เราเสียทรัพย์อยู่เสมอทั้งที่สิ่งเหล่านั้น

อาจเป็นแค่“ความต้องการ”มีก็ดีไม่มีก็ได้ เลิกผัดวันประกันพรุ่งแล้ว

เริ่มออมเงินเดี๋ยวนี้จะสิบร้อยพันหมื่นก็ถือว่า เราได้เริ่มต้นแล้ว

หลังจากนั้นสร้างวินัยให้กับตนเอง ด้วยการออมต่อเนื่องสม่ำเสมอ

แม้จะไม่อย ากออมก็ตาม เพรา ะวินัย คือการทำสิ่งที่ “ต้องทำ” แม้จะ “ไม่อย ากทำ” ก็ตาม

6. แยกไม่ออกว่า“จำเป็น”หรือ“ต้องการ”

วิธีการแยกง่ายที่สุด ก็คือต้องรู้ว่า สิ่งไหนต้องมี (จำเป็น) ขา ดไปแล้ว จะใช้ชีวิต ไม่ได้

อย่างเช่นปัจจัย 4 หรือสิ่งไหน มีก็ดีไม่มีก็ได้ (ต้องการ) ขา ดไปแล้ว ยังใช้ชีวิตได้

แต่ถ้ามีแล้วชีวิตจะดีขึ้น เช่นอาหารจาน หรูเสื้อ ผ้าแบรนด์เนม หรือสิ่งไหนไม่จำเป็น

ต้องมีแต่ถ้าแยกไม่ได้ และเอาอารมณ์ เป็นที่ตั้งอาจเป็นเหยื่อ

ภาพลวงของ “ความจำเป็น” มันจะทำให้เรามี แต่จ่ายกับจ่ายไม่มีที่สิ้นสุด

7. เป็นสาวกเทคโนโลยี

ถ้าใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ เทคโนโลยีแล้วล่ะ ก็จะรู้เลยว่าไม่มีวันหยุด สำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ

ยิ่งเราวิ่งตามเท่าไหร่ เงินก็จะยิ่งไหล ออกจากกระเป๋ามากขึ้นเท่านั้น

และนั่นก็ทำให้รายได้ ที่มากขึ้น “ไม่เคยพอ” ต่อการตามเทรนด์เหล่านี้

ไม่ผิดถ้าจะซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ ไม่แปลกถ้าจะมีอุปกรณ์ คู่กายไม่ใช่เรื่องเกินจำเป็น

หากจะมีอุปกรณ์พกพามากกว่า 1 ชิ้น เพียง แต่เราต้องใช้ประโยชน์

จากสิ่งที่เราซื้อให้เต็มที่และคุ้มค่าคุ้มราคาจริงๆ

8. ไม่เคยจดเรื่อง“เงิน”ของตัวเอง

เข้าห้องประชุมก็จดนายสั่งงา นก็จดไปฟังสัมนาก็จดจด ทุกเรื่องที่ทำ เพื่อคนอื่น

แต่หลายคนไม่เคย แม้แต่จะจดเรื่อง “เงิน” ของตัวเอง ทั้งที่เป็นเรื่องที่ดีกับตัวเอง

แท้ ๆ เพียงเพรา ะคิดว่า เรารู้อยู่แล้ว ว่ารับจ่าย ออมเท่าไหร่จริง

อยู่ที่เราอาจรู้ ความเคลื่อนไหว เงินที่เข้า-ออกในกระเป๋า

แต่นั่นอาจเป็นแค่ก้อนใหญ่ ๆ เท่านั้ น

(เงินเดือน – หนี้บัตรเครดิต (รวม )– หนี้บ้านต่อเดือนฯลฯ)

แต่รายจ่ายจิปาถะกาแฟ ขนมเสื้อผ้า อุปกรณ์ต่างๆ หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายปลีกย่อย

ก่อนจะรวมเป็นหนี้บัตรเครดิตก้อนใหญ่ หลายคนไม่เคย แม้แต่จะสนใจ

และนั่นก็เป็น “รูรั่ว” เล็ก ๆ แต่สร้างผลกระทบ ยิ่งใหญ่ ต่อสถานะการเงิน โดยที่เราไม่รู้ตัว

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า